เที่ยวเมืองมะริด ประเทศพม่า แบบมืออาชีพ กินดี เที่ยวดี พักดี โรงแรม 4 ดาว เพิร์ล ลากูน่า รีสอร์ต (Pearl Laguna Resort) มะริด พม่า
เป็นระยะเวลาหลายร้อยปีที่พม่าตอนใต้ถูกซ่อนเร้นจากโลกภายนอก คล้ายดินแดนที่สาบสูญปรากฏเพียงเรื่องเล่าซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ไทยมาโดยทุกยุคทุกสมัย พม่าตอนใต้ประกอบไปด้วย ทวาย มะริด และกอตองหรือเกาะสอง เมืองเหล่านี้อยู่ในเขตการปกครองของเขตตะนาวศรี (Tanintharyi Division) มีเมืองหลวงชื่อเมืองทวายหรือดะแว (Dawei) ซึ่งมีประวัติศาสตร์นับย้อนไปถึงยุคทวารวดี ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัยและอยุธยา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริดและทวาย สินค้าจากยุโรปและอินเดียถูกส่งมาขายที่อยุธยาผ่านทางดินแดนแห่งนี้ ด้วยพื้นที่ประมาณ 43,000 ตารางกิโลเมตร ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน 320 กิโลเมตรและประชากรราว 1,400,000 คน พม่าตอนใต้จึงเต็มไปด้วยเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวและนักสำรวจมิอาจ
มองข้ามไปได้
มะริด (พม่า: ออกเสียง: [mjeɪʔ] มเยะ หรือ [beɪʔ] เบะ; มอญ: อังกฤษ: Myeik) มีชื่อเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า เมอร์กุย (อังกฤษ: Mergui) เป็นเมืองหนึ่งในภูมิภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน จากผลสำรวจสำมะโนครัวประชากรมีประชากรราว 209,000 คน
ผู้ใหญ่ ราคาท่านละ 7900 บาท พักโรงแรม Golden sky ไม่มี เมนุกุ้งมังกร
ราคาท่านละ 8900 บาท พักโรงแรม Grand Jade มีเมนู กุ้งมังกร
*ราคาท่านละ 9500 บาท พักโรงแรม *
เพิร์ล ลากูน่า รีสอร์ต (Pearl Laguna Resort) มะริด พม่า
08.00 น. | พบคณะที่ ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังผ่านการตรวจเอกสารผ่านแดนแล้ว นำท่านขึ้นรถตู้ท้องถิ่นกว้างขวาง นั่งสบาย นั่งรถไปตามถนนสายร่มรื่นมุ่งสู่เมืองมะริด เมืองท่าเก่าแก่แห่งตะนาวศรี ผ่านสวนหมาก สวนปาล์ม สวนยางพารา จากคาบสมุทรชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บนเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณและเส้นทางค้าขายระหว่างประเทศตะวันตกและตะวันออกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มาอย่างยาวนานนับพันปี นำท่านแวะชม ชุมชนชาวไทยพลัดถิ่น ณ หมู่บ้านสิงขร ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของบ้านเดิมในแบบไทยไว้ ตามประวัติกล่าวว่าคนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี หรือที่ทางราชการเรียกว่า ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยสยาม ที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาอยู่ตั้งแต่หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) หลังการยึดครองของอังกฤษ ชาวไทยเหล่านี้จึงกลายเป็นสัญชาติพม่า สมควรแก่เวลานำท่านเดินทางต่อสู่เมืองตะนาวศรี |
เที่ยง | บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร |
บ่าย | นำท่านชมเมืองตะนาวศรีเมืองค้าขายที่สำคัญในอดีตริมแม่น้ำตะนาวศรีหรือที่ชาวพม่าเรียกขานกันทั่วไปว่า ตะหนิ่นตาหยี่ นั่งรถชมเมืองผ่านบ้านเรือนโบราณลักษณะคล้ายกับเรือนไทยในภาคกลางแถบกาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพราะพื้นที่นี้มีความเกี่ยวเนื่องกันในประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์บรรยากาศดูไป ก็มีกลิ่นอายคล้ายเชียงคานอยู่เช่นกัน นำท่านสักการะ เสาหลักเมืองตะนาวศรี ซึ่งเชื่อกันว่าหญิงสาวที่ชื่อ พะอาวซา ได้เสียสละชีวิตเพื่อดูแลรักษาเสาหลักเมืองแห่งนี้ ก่อนเดินทางออกจากเมืองตะนาวศรี แวะชม สระน้ำกษัตริย์ราชมังขลาอายุ 700 ปี |
เย็น | เดินทางถึงเมืองมะริด เมืองท่าสำคัญบนทะเลอันดามันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 จากนั้นนำท่านเช็คอินที่ โรงแรม Hotel Grand Jade ซึ่งเป็นโรงแรมใหม่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองมะริด |
ค่ำ | บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: กั้งทอดกระเทียม จากนั้นนำท่านเดินทางกลับโรงแรมพร้อมพักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันที่สอง วัดพระนอน - ตลาดเซจี - ฟาร์มปูนิ่ม - อู่ต่อเรือ - บ่อกุ้งมังกร - ร้านไข่มุก-โรงงานเม็ดมะม่วง หิมพานต์ - เจดีย์คู่บ้านคู่เมืองมะริด (เช้า/กลางวัน/เย็น) | |
---|---|
07.00 น. | “มิงกาลาบาเซ” สวัสดียามเช้าค่ะ บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม (บุฟเฟ่ต์) ชั้นบนสุดของโรงแรม มองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองมะริดที่สวยงาม ประทับใจ |
08.00 น. | นำท่านไปยัง ตลาดเซจี (ZayGyi) ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมะริด ให้ท่านอิสระในการเดินช็อปปิ้ง และเลือกซื้อของฝากพร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวมะริดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก |
09.00 น. | นำท่านเดินทางไปยัง วัดปอดอมู ตามตำนานกล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นโดยเทวดาภายหลังพระอรหันต์จำนวน 6 รูปได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้รับพระเกศาจำนวน 6 เส้นจากพระพุทธองค์เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ ณ ดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุยาวนานถึง 5,000 ปี หลังจากเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระอรหันต์จำนวน 6 รูปนั้นได้เดินทางมาถึงเขตตะนาวศรีและได้ให้เทวดาองค์หนึ่งสร้างเจดีย์ปอดอมูขึ้นพร้อมประดิษฐานพระเกศาธาตุจำนวน 1 เส้นไว้ในเจดีย์แห่งนี้ ส่วนที่เหลือก็นำไปประดิษฐานไว้ยังเจดีย์อื่นๆ ทั่วเขตตะนาวศรี จากนั้นนำท่านสักการะ เจดีย์จำลองชเวดากองหรือเจดีย์มหาเตธิชายา (MahaTheidizaya Pagoda) ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2008 โดยจำลองมาจากองค์มหาเจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้ง ภายในวิหารโอ่โถงกว้างใหญ่ มีภาพวาดบอกเล่าเรื่องราวการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ไว้รอบทิศ |
10.00 น. | ออกเดินทางสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวเมืองมะริดผ่านอุตสาหกรรมประมงอาทิ ฟาร์มเลี้ยงปูนิ่ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของเมืองมะริดปัจจุบันพม่าเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลอันดับที่ 18 ของโลก จากนั้นนำท่านไปชม อู่ต่อเรือ ขนาดใหญ่ของเมืองมะริดใกล้กับ สะพานจวยกู ซึ่งเป็นสะพานเหล็กที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศพม่าเป็นรองแค่สะพานข้ามแม่น้ำสาละวินที่เมืองเมาะละแหม่งเท่านั้นสะพานแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงปากแม่น้ำตะนาวศรี การต่อเรือนับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมประมงของเมืองมะริด |
เที่ยง | บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร (เมนูพิเศษ: ปูนิ่มทอดกระเทียม) |
บ่าย | หลังรับประทานอาหาร นำท่านเดินทางรอบเกาะ และแวะสักการะ องค์พระนอนอตูละชเวทัลเยือง บนเกาะปาเตท (Pa Htet) ใกล้กับเกาะปาถ่อง (Pa Htaw) วัดพระนอนแห่งนี้มีความยาว 144 ศอก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2498 ภายในองค์พระพุทธรูปแบ่งเป็นห้องๆ แสดงพุทธประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า จากนั้นตามด้วย บ่อกุ้งมังกร ซึ่งท่านจะได้สัมผัสกุ้งมังกรและกั้งสดๆ จากท้องทะเลอันดามัน ก่อนถูกส่งไปขายที่เมืองไทยและย่างกุ้ง จากนั้นเดินทางต่อไปยัง ร้านไข่มุก ชื่อดังของเมืองมะริด ให้ท่านได้เลือกชมและซื้ออัญมณีแห่งสายน้ำอย่างเต็มที่ และไข่มุกที่มะริดนั้นถูกส่งไปขายถึงประเทศญี่ปุ่น นำท่านเดินทางต่อไปยัง โรงงานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งท่านจะได้สัมผัสวิธีการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างละเอียดทุกขั้นตอน จากนั้นนำท่านชมบรรยากาศของถนนริมทะเลอันดามัน (Strand Road) ที่คึกคักไปด้วยร้านค้าและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม พร้อมเดินชม ห้างสรรพสินค้า Myeik Shopping Center ซึ่งเป็นห้างสมัยใหม่ริมทะเลอันดามัน |
เย็น | นำท่านไปนมัสการ องค์พระเจดีย์เตนดอจี(Thein DawGyi) ซึ่งเป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของมะริด เจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาใจกลางเมืองมะริดและ ณ ที่แห่งนี้มีพระพุทธรูปศิลปะแบบไทยประดิษฐานไว้ในโบสถ์ด้วย คาดว่าน่าจะก่อสร้างในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ว่ากันว่าคนไทยนิยมสร้างโบสถ์ส่วนคนพม่านิยมสร้างเจดีย์ บนเจดีย์แห่งนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองมะริดได้ครบ 360 องศาเป็นภาพที่งดงามและประทับใจอย่างยิ่ง |
ค่ำ | บริการอาหารค่ำ ณ ห้องอาหาร หลังรับประทานอาหารและสมควรแก่เวลา นำท่านเดินทางกลับโรงแรมและพักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันที่สาม ตลาดสด - ด่านสิงขร (เช้า/กลางวัน/-) | |
---|---|
07.00 น. | บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม |
08.00 น. | เช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมพร้อมนำท่านชม ตลาดสดยามเช้า ของเมืองมะริด ท่านจะได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวมะริดอย่างใกล้ชิดท่ามกลางบรรยากาศอันแสนคึกคักของตลาด จากนั้นเดินทางออกจากเมืองมะริต |
เที่ยง | บริการอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร |
บ่าย | เดินทางถึงด่านสิงขร นำท่านผ่านพิธีการผ่านแดนออกจากพม่า เข้าสู่ประเทศไทย ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง นำท่านเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยโดยสวัสดิภาพและประทับใจ |
อัตราค่าบริการ
ผู้ใหญ่ ราคาท่านละ 7900 บาท พักโรงแรม Golden sky ไม่มี เมนุกุ้งมังกร
ราคาท่านละ 8900 บาท พักโรงแรม Grand Jade มีเมนู กุ้งมังกร
*ราคาท่านละ 9500 บาท พักโรงแรม *
เพิร์ล ลากูน่า รีสอร์ต (Pearl Laguna Resort) มะริด พม่า
พักเดี่ยวราคาท่านละ 1,800 บาท - 2000 บาท
ค่าบริการนี้รวม
1. ค่ารถตู้ปรับอากาศ นำเที่ยวตลอดรายการที่ทวาย
2. ค่าโรงแรมระดับมาตรฐาน 2 คืน (พักห้องละ 2 ท่าน) กรณีพักเดี่ยว ชำระเพิ่มท่านละ 1,800 บาท
3. ค่าอาหารทุกมื้อที่ระบุในรายการ
4. ค่าดำเนินการเอกสารผ่านแดนทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า
5. ค่าน้ำดื่ม ขนม และผ้าเย็น ระหว่างการเดินทาง
6. ค่ามัคคุเทศก์ท้องถิ่น (ภาษาไทย)
7. ค่าประกันการเดินทางเป็นหมู่คณะ วงเงินประกัน 1,000,000 ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
ค่าบริการนี้ไม่รวม
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าซักรีดในโรงแรม ค่ามินิบาร์ในโรงแรม
2. ค่าอาหารและเครื่องดื่มนอกเหนือจากรายการที่ระบุไว้
3. ค่าทิปไกด์และคนขับรถ
ยุคประวัติศาสตร์
ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในด้านประวัติศาสตร์ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัย และอยุธยา สยามสมัยพระนารายณ์มหาราชมีอาณาเขตแผ่ถึงปัตตานี ลาว ภูเขียว เขมร อังวะ พะโค และมะละกา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริดและภูเก็ต และมีหัวเมืองสำคัญคือ พิษณุโลก ตะนาวศรี กรุงเทพมหานคร และเพชรบุรี ในอดีตที่ผ่านมา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองมะริดและตะนาวศรี ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในอดีตไทยกับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริดและตะนาวศรีกันบ่อยครั้ง เมืองตะนาวศรียังถือเป็นหนึ่งในพระยามหานคร 8 เมือง ที่ต้องเข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยา คือ เมืองพิษณุโลกศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งไทยและพม่า ได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้ง 3 นี้ แม้บางช่วงจะอยู่ในฐานะหัวเมืองที่ไม่ขึ้นกับใครโดยตรง
ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงยุครัตนโกสินทร์
ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2302 สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ รัชกาลสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พยายามยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่า แม้จะไม่สำเร็จ แต่ในอีก 4 ปีต่อมา คือพ.ศ. 2334 เมืองทะวาย ตะนาวศรี และมะริด ก็มาขอขึ้นกับไทย
ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในช่วงปี พ.ศ. 2408 – 2410 มีการตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม และมีเจ้าพระยายมราช (ครุฑ) พระยาเพชรบุรี และพระยาชุมพร(กล่อม) รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม
เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญาขึ้นที่กรุงเทพ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยกับพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา[ต้องการอ้างอิง] บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา
ในอนุสัญญาได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า “..ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น...”
สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย
กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
การปรับปรุงเส้นเขตแดนใหม่กับไทย
ในปี พ.ศ. 2379 แม่น้ำปากจั่นที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดระนองของประเทศไทย กับเขตตะนาวศรีของประเทศพม่าเปลี่ยนทางเดิน รัฐบาลไทยจึงได้ขอปรับปรุงเส้นเขตแดนนี้กับอังกฤษ ซึ่งทำให้ไทยเสียดินแดนที่เป็นเกาะไปประมาณ 100 ไร่ แต่ได้คืนมา 186 ไร่ และดินแดนที่ได้คืนมานี้ประชากรส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไทย[6]
หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ
หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1948 ดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐกะเหรี่ยง ต่อมาใน ค.ศ. 1974 ดินแดนทางตอนเหนือที่เหลือของเขตตะนาวศรีก็ได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐมอญ[7] แต่เดิมเมืองเอกของเขตตะนาวศรีคือเมืองเมาะลำเลิง (มะละแหม่ง) แต่เมื่อมีการจัดตั้งเป็นรัฐมอญแล้ว เมืองเมาะลำเลิงจึงตกอยู่ในการปกครองของรัฐมอญ ต่อมาจึงมีการจัดตั้งเมืองทวายเป็นเมืองเอกของเขตตะนาวศรีแทนเมืองเมาะลำเลิงที่อยู่ในเขตของรัฐมอญ[7]ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 ทางการพม่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงการสะกดชื่อเขตตะนาวศรีในอักษรโรมัน โดยจากเดิมสะกดว่า Tenasserim เปลี่ยนเป็น Tanintharyi และออกเสียงเป็นภาษาพม่าเป็น ตะนี้นตายี นั่นเอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ตั้ง
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐมอญ (ประเทศพม่า)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง (ประเทศไทย)
- ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
การปกครอง
ภูมิภาคตะนาวศรีมีการปกครองแบบภูมิภาคไม่ใช่รัฐ ไม่ได้มีกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ การปกครองของภูมิภาคตะนาวศรีมี 3 อำเภอ 10 ตำบล 328 หมู่บ้าน
- อำเภอทวายหรือดะแว (Dawei, Tavoy)
- อำเภอมะริดหรือมเยะ (Mergui, Myeik)
- อำเภอเกาะสองหรือกอตอง/วิกตอเรียพอยต์ (Kawthaung, Victoria Point)
ประชากร
ประชากรมี 1.2 ล้านคน และมีหลากหลายชาติพันธุ์ พวกที่ถือตัวเป็นชาวไทยส่วนใหญ่จะอาศัยทางใต้ของภูมิภาคตะนาวศรี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวไทยเชื้อสายลาวอพยพออกมาจากแดนไทยแถบจังหวัดราชบุรี ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2394 โดยหนีไปยังเมืองทวาย, เมาะลำเลิง, มะริด และตะนาวศรี และนำสินค้าเข้ามาค้าขายที่บ้านจางวางบัวโรย แขวงเมืองราชบุรี[8]
หลังจากการเสียดินแดนบริเวณภูมิภาคตะนาวศรี ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงกลายเป็นประชาชนชาวพม่าไป โดยในปลายปี พ.ศ. 2549 ได้มีคนเชื้อสายไทยกว่า 3,000 คน อพยพเข้าสู่ฝั่งไทย แต่อย่างก็ตามพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับสัญชาติไทย และใช้ชีวิตเช่นเดียวกับแรงงานชาวพม่าทั่วไป[9]
ภาษา
ในอดีตนั้น ประชากรส่วนใหญ่ในดินแดนแถบนี้ใช้ภาษาไทย ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง และภาษามลายู มะริดในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี บกเปี้ยน (Bokpyin)[10] และมะลิวัลย์ (Maliwun) บกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444
ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของภูมิภาคตะนาวศรีใช้ภาษาพม่าในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และเป็นภาษาราชการ ส่วนทางใต้จะมีกลุ่มคนพูดภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูอยู่บ้าง ส่วนกลุ่มคนเชื้อสายไทยภาคตอนบนของภูมิภาคตะนาวศรี นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสานในตำบลคลองใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดอุดรธานีตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และสืบทอดวัฒนธรรมจากอีสาน เช่น การทำประเพณีบุญบั้งไฟ และเลี้ยงปู่ตาหรือผีประจำหมู่บ้าน
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ของตะนาวศรีส่วนมาก นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ส่วนศาสนาอิสลาม อยู่ในกลุ่มของชาวพม่าเชื้อสายมลายู, ชาวไทยมุสลิม, ชาวโรฮีนจา และชาวพม่าเชื้อสายอินเดียบางส่วน โดยเฉพาะทางตอนใต้ของภูมิภาคตะนาวศรีซึ่งมีอาศัยอยู่หนาแน่น ส่วนศาสนาคริสต์นั้นแม้จะมีประวัติศาสตร์มานานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ก่อนสมัยอาณานิคม แต่ก็มีจำนวนน้อย โดยมีชุมชนเชื้อสายเวียดนามที่อพยพเข้ามาในภูมิภาคตะนาวศรีตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเข้ามาอาศัยในเมืองมะริด และตะนาวศรี โดยมีบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ฝึกสอนศาสนา และขณะเดียวกันก็ลี้ภัยทางศาสนาจากเวียดนามด้วย